สายพานลำเลียงและรถ AGV
สายพานลำเลียง
สายพานลำเลียง (Conveyor Belt System) คือ
ระบบลำเลียงเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ ชิ้นงาน
ผลิตภัณฑ์หรือลำเลียงกระสอบจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยใช้สายพานลำเลียง (Belt)
และมอเตอร์เกียร์เป็นตัวขับเคลื่อนสายพานลำเลียงกระสอบ
หลังจากผ่านกระบวนต่าง ๆ ของทางโรงงานเรียบร้อยแล้วและต้องการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ไปที่ต้องการ
ดังนั้นระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภททั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่
สายพานลำเลียง Conveyor สายพานลำเลียงเป็นสายพานที่ใช้ขนส่งวัสดุจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
โดยจะต้องมีตัวขับและพูเลย์ในการทำให้สายพานเคลื่อนที่
การเคลื่อนที่ของสายพานจะเกิดจากแรงเสียดทานระหว่างสายพานกับพูเลย์
แรงเสียดทานดังกล่าวจะขึ้นอยุ่กับผิวสัมผัส ระหว่างสายพานกับพูเลย์ และแรงดึงให้สายพานตึง
จากลักษณะการใช้งานสายพานจึงต้องมีสมบัติต่าง ๆ
ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt
Conveyor System (แบบ PVC)
เป็นระบบสายพานลำเลียงแบบช่วยในการเคลื่อนย้ายชิ้นงานหรือวัสดุ โดยสายพานลำเลียงเป็นแบบ PVC เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมหลายประเภท
ระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC ใช้สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ลักษณะการทำงานจะลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ผ่านบนสายพานลำเลียงแบบ PVC สามารถทำมุมไม่เกิน 30 องศา ในแนวระดับสายพานลำเลียงแบบ PVC มีคุณสมบัติสามารถทนความร้อนได้ไม่เกิน 80 องศา ผิวมีความหนืดสามารถยึดชิ้นงานหรือวัสดุได้ดี สามารถทนน้ำมันเหมาะสำหรับงานที่ทนการกัดกร่อน สามารถทนกรด-ทนด่างเหมาะสำหรับงานที่ลำเลียงสารเคมีที่มีส่วนผสมของกรดและด่าง และราคาถูก เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมลำเลียง อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเลคโทรนิคส์ อุตสาหกรรมทอผ้า อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
ภาพประกอบ
ระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC
วีดีโอประกอบ
ระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC
รถขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติ
AGV มีหลายชนิดให้เลือกตามความเหมาะสมของการใช้งานตั้งแต่
การใช้งานแบบลากจูง container ,แบบยก container จนถึงแบบรถยก (Forklift)
ในลักษณะต่างๆ
โดยมีระบบควบคุมเส้นทางและนำทางการขับเคลื่อน (The
Vihicle Navigation & Guidance System) ด้วยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ
AGV หรือแบบควบคุมโดยการ ตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์เพื่อให้รถ AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้รถ AGV แต่ละชนิดรับน้ำหนักได้ต่างกันตั้งแต่ 400-1,200
กิโลกรัม
หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท โดยมีความเร็วในการขับเคลื่อน 1.2-1.7 เมตร ต่อวินาทีรถ AGV ทุกคันจะติดตั้งระบบเลเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ประกันได้ว่ามีระดับความปลอดภัยสูงสุด
โดยติดตั้งทั้งด้านหน้าและหลังของตัวรถ และแบ่งการเตือนภัยออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่เตือนภัย( Warning Area)และพื้นที่หยุด
(Stopping Area) กล่าวคือ
ถ้ามีบุคคลเดินเข้าในเขตพื้นที่เตือนภัย รถ AGV จะลดความเร็วลงจากความเร็วสูงสุด
(Maximum Speed) เป็นลักษณะแบบเคลื่อนที่ช้า (Crawling Speed) และถ้าตรวจจับได้ในพื้นที่หยุด รถ AGV จะหยุดทันที โดยระยะทางของพื้นที่เตือนและพื้นที่หยุด
จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความเร็วของรถ AGVรถขนส่งชิ้นงานอัตโนมัติ
หรือ รถ เอจีวีคือรถที่สามารถแบกหรือลากน้ำหนักต่างๆเพื่อพาไปส่งให้กับตำแหน่งหรือสถานีที่ต้องการได้
ส่วนมากจะใช้ในการส่งชิ้นงานในไลน์การผลิต. ยี่ห้อ Carry
Bee เป้นรถ
เอจีวี ตระกูลญี่ปุ่น
ซึ่งสามรถลากหรือแบกน้ำหนักและควบคุมการทำงานแบบไร้สายผ่านจากระบบ PLC สามารถรองรับน้ำหนักได้ถึง 3 ตัน
AGV Pallet Truck
ประเภทนี้จะใช้ขนส่งโหลดที่วางอยู่บนพาเล็ตไปบน
เส้นทางการขนส่งที่กำหนดให้การทำงานแบบนี้เดิมทีคนงานจะทำหน้าที่
โหลดพาเล็ตขึ้นมาไว้บนรถด้วยซ่อม (Fork)แล้วขับรถไปยังตำแหน่งที่ต้องการ
ในการใช้งานรถ AGV ประเภทนี้ผู้ควบคุมเพียงแค่ขับรถAGV ไปยังตำแหน่งเริ่มต้นของเส้นทางเดินรถ จากนั้นทำการโปรแกรมจุดหมาย
แล้วปล่อยให้รถ AGVเคลื่อนที่ไปยังจุดหมายเองโดยอัตโนมัติ
ซึ่งรถ AGV ชนิดนี้ปัจจุบันคือรถForklift AGV นั่นเอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น